วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

 อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา!!!!


                  อินเทอร์เน็ตสามารถให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และ สามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในด้านการคิดอย่างมีระบบ (High - Order Thinking Skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry - Based Analytical Skill) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุนกระบวนการสหสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ ในการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ภาษา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตเมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้างความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
 
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา>>>
 
                 รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การศึกษาค้นคว้า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่รวมเครือข่ายงานต่าง ๆ ไว้มากมาย
            -   ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลกการติดต่อสื่อสาร ผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารได้ไม่ว่าจะเป็นการรับส่ง E-mail , Chat , Telnet , Usenet เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สอนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการนำเสนอบทเรียน สั่งงาน ตอบคำถามข้อสงสัย รับงาน ฯลฯ
            -  ส่วนผู้เรียนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ส่งงาน ทบทวนบทเรียนระหว่างผู้สอนแล้วยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ ได้อีกด้วย
       -  การเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction : WBI) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ใน WWW มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก Web เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia)เพื่อเชื่อม โยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก
 
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา>>>
    
                 1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้เรียน
                       อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับความรู้ใหม่ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน เกิดทักษะความคิดขั้นสูงและเป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรวมถึงเป็นการฝึกให้เกิดทักษะการเขียนด้วย
 
 
                2. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้สอน
                   เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษา การวิจัย การวางแผนการสอนและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเช่นกัน คุณค่าของการเปิดรับข้อมูลทำให้ได้รับรู้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย สามารถนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้สอน
 

                3. ประโยชน์ที่มีต่อผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ
                      ให้ได้พบกับแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ดีกว่า ประหยัดเวลากว่าและพบผลงานที่แตกต่างจากในท้องถิ่นของตนเอง

                4. ประโยชน์ที่มีต่อเจ้าหน้าที่
                         ในระดับของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การใช้อินเทอร์เน็ตช่วยลดความซับซ้อน การจัดเตรียมและเอกสาร เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยิ่งในการรับและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับและส่งข้อมูลภายนอกองค์กร
 
                5. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการสื่อสาร
                          การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแนวทางที่ดีที่ทำให้การสื่อสารระหว่างโรงเรียน กองทุนสนับสนุนการศึกษา โครงการเพื่อการศึกษา องค์กรพิเศษอื่น ๆ และอาสาสมัคร ในการเชื่อมโยงไปถึงผู้นำธุรกิจในท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่สามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำการใช้ E-BOOK

1ebooks.in.th คืออะไร ให้บริการอะไร????

             ebooks.in.th คือ บริการคลังหนังสือ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนที่เป็น เว็บไซต์ และ แอปพลิเคชั่นในอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ทำหน้าที่ รวบรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ebooks) ของไทยทั้งหมด ผ่านระบบบนเว็บไซต์ ซึ่งนักเขียนและสำนักพิมพ์ สามารถอัปโหลดส่งไฟล์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ
              เมื่อไฟล์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ถูกรวบรวมบันทึกลงฐานข้อมูล โดยผู้เขียนและ
สำนักพิมพ์ต่างๆ ทุกแห่งของประเทศไทยแล้ว แอปพลิเคชั่นชื่อ "ebooks.in.th" (ชื่อเดียวกันกับเว็บไซต์) ในอุปกรณ์พกพาต่างๆ อาทิ iPad, iPhone, iPod, อุปกรณ์ที่เป็น Android หรืออุปกรณ์เครื่องอ่าน (eReader) ต่างๆ ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไปเปิดอ่านได้ทันที จากทุกที่ทุกแห่งในโลกนี้
             และหากไฟล์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มใด เป็นหนังสือลิขสิทธิ์ที่ต้องสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อ
ออนไลน์และชำระเงินได้ทันที

ขั้นตอนและวิธีการเข้าใช้งาน>>>


1. เปิดเว็บไซต์ http://www.ebooks.in.th/default.html
2. เปิดลิงค์ข้างต้น จะพบหน้าเว็บต่อไปนี้



3. เลือกค้นหาประเภทหนังสือที่ต้องการที ช่องค้นหา



4. จากนั้นจะปรากฏชื่อหนังสือเราสามารถเลือกอ่านได้ตามที่ต้องการ







วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข
 



          เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ  ดังนี้
         

 1. ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital InformationSystem: HIS)
 นำมาใชในงานเวชระเบียน ระบบ  ข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน เป็นต้น   การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
   2. ระบบสาธารณสุข นำมาใช้ในด้านการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น
   3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในกาสรวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา



  4. สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
   5. เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
  6. เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
   7.ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย